ปากานี ซอนด้า (อังกฤษ: Pagani Zonda) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนตร์กลางลำท้าย ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท ปากานีจากอิตาลี เปิดตัวครั้งแรกในปี 1999 และหยุดสายการผลิตลงในปี 2011 กับรุ่นพิเศษอื่นๆอีก 3 รุ่น คือ Zonda 760RS, Zonda 760LH และ Zonda 764 Passione โดยในเดือนมิถุนายน 2009 ผลิตมาทั้งหมดแล้ว 135 คันด้วยกัน แต่ต่อมาซอนด้าก็ได้ดำเนินสายการผลิตต่อในปี 2012
เดิมทีก่อนที่ปากานีจะใช้ชื่อ "ซอนด้า" ได้ใช้ชื่อ "ฟานจิโอ เอฟ1" (Fangio F1) ซึ่งมาจาก "จอห์น มานูเอล ฟานจิโอ" (Juan Manuel Fangio) นักแข่งรถฟอร์มูลาวันชาวอาร์เจนตินา ผู้เคยเป็นแชมป์สนามเอฟ1 ถึง 24 ครั้ง แต่ภายหลังเขาเสียชีวิตในปี 1995 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง "เขตลมซอนด้า" ในประเทศอาร์เจนตินา ที่ต้องการใช้ชื่อที่อิงมาจากประเทศอาร์เจนตินา ก็เพราะโฮราซิโอ ปากานี่ เจ้าของบริษัท เป็นชาวอาร์เจนตินาด้วยประการหนึ่ง
ซอนด้า ซี12 (Zonda C12) เปิดตัวในปี 1999 ที่งานเจนีวามอเตอร์โชว์ ใช้เครื่องยนต์ 6.0 ลิตร ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ V12 สามารถให้กำลังได้ 389 แรงม้า (394 PS; 290 kW) ที่ 5,200 รอบ/นาที และแรงบิดที่ 570 นิวตัน?เมตร (420 lb?ft) ที่ 3,800 รอบ/นาที ใช้ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 4.2 วินาที
ซอนด้า เอส (Zonda S) ใช้เครื่องยนต์ 7.0 ลิตร (427 cu in) ของเอเอ็มจีโดยได้รับการแต่งเครื่องพิเศษ สามารถให้กำลังได้ถึง 540 แรงม้า (550 PS; 290 kW) ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 3.7 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 335 กม./ชม. (208 ไมล์/ชม.) ซอนด้า เอส ตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 5 แสนดอลลาร์ หรือประมาณ 15 ล้านบาท
ซอนด้า เอส (Zonda S 7.3) โมเดลปี 2002 เป็นรุ่นเสริมของซอนด้า เอส มีการเพิ่มขนาดเครื่องยนต์เป็น 7.3 ลิตร (445 cu in) ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอเอ็มจี สามารถให้กำลังได้ 547 แรงม้า (555 PS; 408 kW) และแรงบิดที่ 750 นิวตัน?เมตร (550 lb?ft) มีการปรับปรุงระบบแฮนเดิล แต่ก็ยังคงใช้ระบบเอบีเอสเช่นเดิม
ซอนด้า โรสเตอร์ (Zonda Roadster) โมเดลปี 2003 เป็นเวอร์ชันโรสเตอร์เปิดประทุนของ ซอนด้า เอส 7.3 โดยใช้เครื่องยนต์และทุกอย่างเหมือนเดิม ทางค่ายปากานี ได้กล่าวว่าสมรรถภาพของโรสเตอร์จะต้องเท่าคูเป้ โดยอ้างจากน้ำหนักที่ลดลงไป 30 กิโลกรัม (66 lb) ซอนด้า โรสเตอร์ผลิตมาเพียง 40 คันเท่านั้น
ซอนด้า เอฟ (Zonda F หรือชื่อเต็มคือ Zonda Fangio ชื่อนักแข่งฟอร์มูลาวัน) เปิดตัวในปี 2005 ในงานเจนีวามอเตอร์โชว์ ซอนด้า เอฟ ถือเป็นรุ่นที่แพงที่สุดในบรรดารุ่นล่าสุดของซอนด้าในขณะนั้น ใช้เครื่องยนต์ขนาด 7.3 ลิตร ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอเอ็มจี V12 สามารถให้กำลังได้ 594 แรงม้า (602 PS; 443 kW) ที่ 6,150 รอบ/นาที และแรงบิดที่ 795 นิวตัน?เมตร (560 lb?ft) ที่ 4,000 รอบ/นาที ซอนด้า เอฟ จะผลิตมาเพียง 25 คันในโลกเท่านั้น
ซอนด้า โรสเตอร์ เอฟ (Zonda Roadster F) เปิดตัวในปี 2006 ในเจนีวาออโตโชว์ เป็นเวอร์ชันโรสเตอร์เปิดประทุนของ ซอนด้า เอฟ โดยใช้เครื่องยนต์และทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนหลังคาคาร์ไฟเบอร์เป็นหลังคาผ้าใบ ที่มีน้ำหนักเพียง 5 กิโลกรัม (11 lb) ส่วนจำนวนการผลิต ผลิตจำนวนเท่ากับ ซอนด้า เอฟ ที่ 25 คันเช่นกัน
ปากานี ชิงเคว (Zonda Cinque; คำว่า ชิงเคว แปลว่า 5 ในภาษาอิตาลี) เป็นรุ่นที่มีผลิตเพียง 5 คันเท่านั้นตามชื่อรุ่น โดยจะวางขายประมาณ 2,193,070 ดอลลาร์ หรือประมาณ 65 ล้านบาท และได้ส่งสินค้าออกทั้งหมดในเดือน 2009
ชิงเคว นับว่าแตกต่างจะรุ่นก่อนหน้านี้มากอาทิ การเปลี่ยนไปใช้เกียร์ 6 จังหวะแบบซีเควนเชียล (Sequential) ทำให้สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลา 3.4 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 350 กม./ชม. (217 ไมล์/ชม.) ชิงเคว ยังได้รับการปรับปรุงคาร์บอน ไฟเบอร์ใหม่ที่เรียกว่า "คาร์บอน-ไทเทเนียม" ซึ่งเสริมความแข่งแแกร่งให้กับรถมากยิ่งขึ้น สำหรับกำลังทำได้สูงสุดที่ 669 แรงม้า (678 PS; 499 kW) และแรงบิดสูงสุดที่ 780 นิวตัน?เมตร ที่ 4,000 รอบ/นาที
ปากานี ชิงเคว โรสเตอร์ (Zonda Cinque Roadster) เหมือนรุ่นคูเป้ทุกประการเพียงแค่ปรับเป็นหลังคาเปิดประทุนได้ และผลิตออกมาเพียง 5 คันเช่นเดียวกัน
ซอนด้า ไทรคอลอร์ (Zonda Tricolore; คำว่า ไทรคอลลอร์ แปลว่า 3 สีในภาษาอิตาลี) ) ถือเป็นรุ่นท้ายสุดของตระกูลรถที่นำหน้าด้วย "ซอนด้า" จะผลิตสู่ตลาดเพียง 3 คันเท่านั้น โดยโครงสร้างส่วนใหญ่มาจาก ซอนด้า ชิวเคว ตัวถังไม่มีการทาสี โดยใช้สีจากคาร์บอน ไฟเบอร์ ที่มีเพียงสีฟ้าอ่อนเครือบ และใช้สีแดง ขาว และเขียวตามขอบจมูกสามเหลี่ยมด้านหน้าของรถ ไทรคอลอร์ จะจำหน่ายเพียง 1.2 ล้านยูโร หรือประมาณ 48 ล้านบาท
ปากานี ซอนด้า อาร์ (อังกฤษ: Pagani Zonda R) เปิดตัวในงานเจนีวามอเตอร์โชว์ 2007 มากับเครื่องยนต์ขนาด 6.0 ลิตร V12 รุ่น M120 ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เครื่องเดียวที่ใช้กับรุ่น ซีแอลเค-จีทีอาร์ อดีตรุ่นที่เร็วและแพงที่สุดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งสามารถให้กำลังได้ถึง 740 แรงม้า (750 PS; 552 kW) ที่ 8,500 รอบ/นาที และแรงบิดสูงสุดที่ 710 นิวตัน?เมตร (524 lb?ft) ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 2.8 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 355 กม./ชม. (220 ไมล์/ชม.)
ซอนด้า อาร์ มีลักษณะคล้ายกับ เฟอร์รารี่ เอฟเอ็กซ์เอ็กซ์ และ มาร์เซราติ เอ็มซี12 ซึ่งออกเป็นแนวรถแข่งในสนาม ซอนด้า อาร์ จะผลิตออกมาเพียง 15 คันเท่านั้น
ซอนด้า อาร์ อีโวลูชั่น (Zonda R Evolution) เป็นรุ่นพัฒนาของซอนด้า อาร์ มีการใช้คาร์บอน-ไฟเบอร์ สีขาวไข่มุก บริเวณจมูกด้านหน้าของรถ มีการปรับแรงม้าถึง 800 ตัว (597 kW; 811 PS) มีการปรับปรุงระบบแอโรไดานามิก และเสริมสปริตเตอร์รอบข้าง
ปากานี่ ซอนด้า เรโวลูเชี่ยน (Zonda Revoluci?n) ถือเป็นรุ่นสุดท้าย และท้ายสุดของตระกูลซอนด้าอย่างแท้จริง มีการปรับกำลังเท่ากับซอนด้า อาร์ อีโวลูชั่น คือ 800 ตัวเช่นเดิม สามารถทำความเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลาเพียง 2.6 วินาที และความเร็วสูงสุดที่ 350 กม./ชม. (217 ไมล์/ชม.)